วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ตะลึง!!! ผลการทานเห็ดลินจือกับโรคใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก (Bell’s palsy)


ผลการทานเห็ดหลินจือแดงสกัดDAXIN
เห็ดหลินจือแดงสกัด 100% รากและกอด 6 สายพันธุ์ เจ้าแรกของเมืองไทย
โรคใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก (Bell’s palsy) รศ.นพ.ก้องเกียรติ กูณฑ์กันทรากร อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง
     ผู้อ่านหลายท่านคงเคยได้ยินข่าวเรื่องดารานักแสดงหลายคนมีอาการใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก ฟังดูน่ากลัวแถมยังมีผลอย่างมากต่อรูปลักษณ์ที่เป็นส่วนสำคัญต่อบุคลิก การทำงาน และการดำเนินชีวิตประจำวัน
โดยบางคนอาจกังวลว่า อาการใบหน้าอัมพาตครึ่งซีกนี้เป็นอาการรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่ หรือถ้าเป็นแล้วจะหายเป็นปกติหรือไม่
ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโรคใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก หรือที่เรียกว่าโรคเบลล์พัลซี่ (Bell’s palsy) กัน
     โรคใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก หรือ Bell’s palsy นี้ได้ถูกบรรยายครั้งแรกโดยเซอร์ชาร์ลส์ เบลล์ แพทย์ชาวสกอตแลนด์ในปี พ.ศ.2372 และพบว่า เกิดจากรอยโรคที่เส้นประสาทสมองที่ 7 ที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้า น่าแปลกที่ว่า ผู้ป่วยมักเป็นที่ใบหน้าข้างขวามากกว่าข้างซ้ายเล็กน้อย โรคนี้พบได้บ่อยมากคือในช่วงชีวิตหนึ่งของคนทั่วไปมีโอกาสเกิดโรคได้ถึงร้อยละ 1
กลุ่มเสี่ยง
     สำหรับคนทั่วไปจะมีความเสี่ยงสูงตามอายุที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 3 และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติก็มีความเสี่ยงสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมักมีปัญหาด้านการอุดตันของหลอดเลือดขนาดเล็กที่เส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทตายจากการขาดเลือด และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อใหม่หรือการกำเริบของไวรัสในร่างกาย
สาเหตุ
     ผู้ป่วยโรคใบหน้าอัมพาตครึ่งซีกเกือบทั้งหมดไม่ได้มีสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก และสาเหตุในผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ส่วนหนึ่งมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อเริม (Herpes simplex virus type1) หรือไวรัสอื่นๆ ที่เส้นประสาทสมองที่ 7 เช่น ไวรัสโรคสุกใส ไวรัสเอปสไตน์บาร์ หรือเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคไลม์ ซึ่งการติดเชื้อข้างต้นนี้อาจเป็นการติดเชื้อใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น หรือเป็นการกำเริบจากการติดเชื้อที่แฝงอยู่เดิมในร่างกายก็ได้ เมื่อร่างกายอ่อนแรงลง ไม่ว่าจะมาจากปัจจัยความเครียดทางจิตใจ หรือจากสิ่งแวดล้อมภายนอก หรือโรคทางกายอื่นๆ ก็จะทำให้เกิดโรคขึ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงมักไม่ทราบสาเหตุที่จำเพาะของโรคนี้

      นอกจากนั้นแล้ว ความผิดปกติของเส้นประสาทสมองที่ 7 ที่ทำให้เกิดอาการไม่ต่างจาก Bell’s palsy ยังเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้เช่นกัน เช่น อุบัติเหตุต่อเส้นประสาทโดยตรง การติดเชื้อบริเวณข้างเคียง หูชั้นในอักเสบติดเชื้อ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

อาการ
     • อาการเด่นที่มักนำผู้ป่วยมาพบแพทย์คือ ผู้ป่วยมักมีอาการอ่อนแรง หรือที่เรียกว่าอัมพาตของกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีก โดยเกิดอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหรือข้ามคืน
     • ผู้ป่วยมักปิดตาไม่สนิท ทำให้เกิดการระคายเคืองตาได้ง่าย มีน้ำตาไหลมากขึ้น
     • เนื่องจากเส้นประสาทสมองที่ 7 นี้มีแขนงเล็กๆ ไปที่กล้ามเนื้อของหูชั้นกลาง บางรายจึงอาจมีอาการปวดบริเวณหลังหูร่วมด้วย เช่น รู้สึกว่ามีเสียงดังหรือก้องขึ้นในหูด้านเดียวกัน
     • บางรายอาจมีการรับรสที่ผิดปกติร่วมด้วย แต่เป็นส่วนน้อย
การวินิจฉัย
     แพทย์จะซักประวัติถึงอาการและระยะเวลาที่เกิดขึ้น อาการร่วมอื่น สาเหตุที่อาจเป็นไปได้ และตรวจร่างกาย เพื่อยืนยันถึงรอยโรคที่เส้นประสาทสมองนี้ และแยกโรคอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันออกไป

      โดยรูปแบบของอาการใบหน้าอ่อนแรงในโรคนี้จะมีลักษณะพิเศษ ซึ่งแตกต่างจากความผิดปกติของใบหน้าอ่อนแรงที่เกิดจากเหตุโรคในสมองคือ กลุ่มกล้ามเนื้อใบหน้าทั้งครึ่งซีกที่รวมถึงกล้ามเนื้อบริเวณหน้าผาก (ที่ใช้ยักคิ้ว/ย่นหน้าผาก) และกลุ่มกล้ามเนื้อส่วนล่างของใบหน้า (ที่ใช้แสยะยิ้ม แยกเขี้ยว เม้มปาก) จะมีความผิดปกติทั้งคู่ ผู้ป่วยจึงดูมีลักษณะว่าใบหน้าด้านนั้นดูห้อยลง ปิดตาไม่สนิท ย่นหน้าผากไม่ได้ ดื่มน้ำแล้วน้ำซึมจากมุมปาก หรือเมื่อให้ผู้ป่วยยิงฟัน หน้าจะถูกดึงไปด้านตรงข้าม ทำให้ดูเหมือนว่าหน้าเบี้ยวด้านตรงข้าม
โดยทั่วไป แพทย์จึงมักให้การวินิจฉัยโรคนี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องทำการตรวจเพิ่มเติมพิเศษ ส่วนในรายที่สงสัยว่ามีปัจจัยเสี่ยงสูงข้างต้น เช่น เป็นโรคเบาหวาน และเป็นผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ ก็ควรตรวจหาโรคเบาหวาน โรคทางภูมิคุ้มกันผิดปกติ ตรวจเอกซเรย์ หรือภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง ฯลฯ

ผลการทานเห็ดหลินจือแดงสกัดDAXIN
Ninng Surang

Ninng Surang1
*** ผลที่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคล


ไม่มีความคิดเห็น: