วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559

มะเร็งต่อมลูกหมาก...อย่ารอจนสายเกินไป

มะเร็งต่อมลูกหมาก...อย่ารอจนสายเกินไป


"มะเร็งต่อมลูกหมากมักไม่แสดงอาการในระยะเริ่มแรก หากมีอาการ หมายถึง มะเร็งได้ลุกลามแล้ว...อย่ารอจนสาย การป้องกันที่ดีคือการตรวจสุขภาพเพศชายทุกปี โดยเฉพาะคุณผู้ชายอายุ 50 ปีขึ้นไป"
วันนี้คุณสำรวจตัวเองหรือยัง...
  • >> ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะเวลากลางคืน
  • >> เวลาเริ่มปัสสาวะจะลำบาก
  • >> ปัสสาวะไม่พุ่ง
  • >เวลาปัสสาวะจะปวด
  • >อวัยวะเพศแข็งตัวยาก
  • >เวลาหลั่งเมื่อถึงจุดสุดยอดจะปวด
  • >มีเลือดในน้ำเชื้อหรือปัสสาวะ
หากมีอาการข้อใดข้อหนึ่ง ควรพบแพทย์เฉพาะทางระบบทางเดินปัสสาวะ เพื่อรับการตรวจอย่างละเอียด
ลักษณะของต่อมลูกหมาก
  • - ลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง (Rectum) และใต้ท่อกระเพาะปัสสาวะ (Urinary bladder) ต่อมลูกหมากจะหุ้มรอบท่อปัสสาวะส่วนต้น ทำให้ปัสสาวะไหลผ่านกลางต่อมลูกหมาก (Prostatic urethra) ในผู้ชายแข็งแรงทั่วไปลักษณะรูปร่างของต่อมลูกหมากคล้ายลูกเกาลัด
  • - นอกจากนี้ต่อมลูกหมากมีหน้าที่สร้างสารน้ำเลี้ยงตัวอสุจิ และเป็นส่วนประกอบของน้ำเลี้ยงอสุจิที่ช่วยให้ตัวอสุจิมีการเคลื่อนที่ออกมาระหว่างมีการหลั่ง
  • - ฮอร์โมนเพศชาย (androgen) เป็นสารที่ทำให้ต่อมลูกหมากมีขนาดโตขึ้น ซึ่งฮอร์โมนเพศชายนี้ส่วนใหญ่สร้างมาจากอัณฑะและบางส่วนสร้างมาจากต่อมหมวกไต
  • - ต่อมลูกหมากจะโตสัมพันธ์กับอายุของมนุษย์เพศชาย ซึ่งเราจะพบได้ว่าในชายสูงอายุจะมาด้วยเรื่องปัสสาวะลำบาก ซึ่งเกิดจากต่อมลูกหมากโตเบียดท่อทางเดินปัสสาวะให้แคบลง
ปัจจัยเสี่ยงการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • • ในปัจจุบันไม่มีใครรู้ว่ามะเร็งต่อมลูกหมากเกิดจากอะไร เรายังไม่สามารถบอกได้ว่าบางคนเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ในขณะที่อีกคนไม่เป็น
  • • มีการศึกษาพบว่ามีองค์ประกอบบางอย่างที่มีผลต่อการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก
    • 1. อายุ: เราพบโรคนี้ในคนสูงอายุส่วนใหญ่มากกว่า 65 ปี ในอายุต่ำกว่า 45 ปี เราพบน้อยมาก
    • 2. ประวัติครอบครัว: ถ้ามีพ่อ, พี่ชาย หรือน้องชาย เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก จะทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมากขึ้น
    • 3. เชื้อชาติ: มะเร็งต่อมลูกหมากพบมากในคนแอฟริกันมากกว่าคนผิวขาว แต่จะพบได้น้อยในคนเอเชีย
    • 4. มีเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงในต่อมลูกหมาก: เราจะพบว่าในจำนวนมาก high-grade prostatic intraepithelial neoplasia (PIN) จะพบว่าอาจทำให้พบมะเร็งต่อมลูกหมากสูงขึ้น
    • 5. อาหาร: มีการศึกษารายงานออกมาว่าการกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ไขมันสัตว์มาก มีโอกสาเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมากกว่าพวกกินอาหารจำพวกพืชผัก
อาการ
  • - คนไข้มะเร็งต่อมลูกหมากอาจจะไม่มีอาการอะไรเลย แต่ในกลุ่มบุคคลที่มีอาการอาจจะมีอาการดังนี้
  • - อาการทางปัสสาวะ
    • 1. ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้
    • 2. ปัสสาวะต้องเบ่งนาน และปัสสาวะขัด
    • 3. ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะเวลากลางคืน
    • 4. ปัสสาวะอ่อนแรง
    • 5. อาจมีอาการปวด แสบ ระหว่างการถ่ายปัสสาวะ
  • - มีปัญหาต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศ
  • - มีเลือดปนในปัสสาวะหรือปนกับอสุจิ
  • - อาจพบได้ว่ามีอาการปวดบริเวณหลังส่วนล่างหรือต้นขา
  • - ส่วนใหญ่แล้วมีโรคหลายโรคที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าวข้างต้น โดยที่ไม่ใช่มะเร็ง เช่น ต่อมลูกหมากโต, ต่อมลูกหมากอักเสบ หรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ ผู้ป่วยชายคนใดที่มีอาการดังกล่าว ควรบอกแพทย์เพื่อทำการสืบหาโรคต่อไป
การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • 1. การซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียดโดยแพทย์เฉพาะทางระบบทางเดินปัสสาวะ (Physical Examination by Urologist) โดยการตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนัก (Digital Rectal Exam - DRE)
  • 2. การตรวจปัสสาวะเพื่อหาว่ามีเลือดหรือการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urine Analysis)
  • 3. การตรวจเลือดเพื่อตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA)
  • 4. การตรวจอัลตราซาวด์ต่อมลูกหมากทางทวารหนัก (Transrectal Ultrasonography) สามารถเห็นต่อมลูกหมากและกระเพาะปัสสาวะและตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก (Prostate Biopsy)
  • 5. การส่องกล้องดูภายในกระเพาะปัสสาวะและต่อมลูกหมาก (Cystoscopy)
การรักษา
  • 1. การผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมด (Radical Prostatectmy) เป็นการผ่าตัดแบบเปิดเพื่อเอาต่อมลูกหมากที่เป็นมะเร็งรวมทั้งต่อมน้ำเหลืองออกทั้งหมด
  • 2. การผ่าตัดโดยใช้กล้อง (Laparoscopic radical Prost) เป็นการผ่าตัดโดยใช้กล้องเพื่อเอาต่อมลูกหมากที่เป็นมะเร็งรวมทั้งต่อมน้ำเหลืองออกทั้งหมด
  • 3. การตัดต่อมลูกหมากโดยการส่องกล้องผ่านอวัยวะเพศ (Transurethral Resection of the Prostate - TURP) เป็นการตัดชิ้นเนื้อเพื่อให้ปัสสาวะไหลคล่อง
  • 4. การรักษาด้วยเคมีบำบัด (Chemotherapy) คือการใช้ยาต้านมะเร็ง ซึ่งสามารถผ่านไปถึงทุกส่วนของร่างกายเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง โดยมีแผนกเคมีบำบัด ภายใต้การดูแลของทีมสหสาขาวิชาชีพด้านการรักษาโรคมะเร็ง
  • 5. การรักษาด้วยการควบคุม Hoemone เพศชาย


ที่มา : http://www.nonthavej.co.th/healthy7.php



ไม่มีความคิดเห็น: